การตรวจสอบความพร้อมก่อนติดตั้งระบบโซล่าเซลล์

Last updated: 5 ก.พ. 2567  |  1459 จำนวนผู้เข้าชม  | 

Solar Roof Top 03

การตรวจสอบความพร้อมก่อนติดตั้งระบบโซล่าเซลล์

ก่อนที่ท่านจะติดต่อไปยังผู้รับเหมาติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ ต้องทำการตรวจสอบความพร้อมภายในบ้าน หรือบริษัท เพื่อแจ้งข้อมูลให้กับผู้รับเหมา ทำการวิเคราะห์ ประเมินราคาเบื้องต้น ก่อนไปสำรวจหน้างาน ซึ่งถ้าข้อมูลเหล่านี้ยิ่งมีมากและละเอียดเท่าไหร่ ก็จะทำให้ผู้รับเหมาประเมินราคาได้ถูกต้องแม่นยำเท่านั้น

ที่กล่าวมาในบทความ การเลือกขนาดของระบบโซล่าเซลล์ที่เหมาะสมจากบิลค่าไฟ นั้น การเลือกขนาดของระบบโซล่าเซลล์เป็นขั้นตอนหนึ่งของการตรวจสอบความพร้อมก่อนติดตั้งระบบโซล่าเซลล์เช่นกัน

สิ่งที่ท่านต้องตรวจสอบก่อนติดตั้งโซล่าเซลล์ มีดังนี้

1. การใช้ไฟในตอนกลางวัน

มีเครื่องใช้ไฟฟ้าอะไรบ้างที่เปิดในตอนกลางวัน การกินไฟ (กำลังไฟฟ้า) กี่กิโลวัตต์ (kW)


2. บิลค่าไฟย้อนหลัง 3-6 เดือน
ถ้าท่านไม่ทราบกำลังไฟฟ้ารวมของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เปิดในตอนกลางวัน ก็คำนวณขนาดของโซล่าเซลล์ที่เหมาะสมจากบิลค่าไฟได้ครับ (ดูได้จากบทความข้างต้น)

3. ชนิดของหลังคา
ตรวจสอบหลังคาที่จะติดแผงโซล่าเซลล์ว่าเป็นชนิดไหน ชนิดของหลังคามีผลต่อการเลือกตัว Hook (ตัวยึดระหว่างแปหลังคากับรางอลูมิเนียม) ซึ่งมีหลายรุ่นตามชนิดของหลังคา

หลังคาส่วนใหญ่มี 4 ชนิด ดังนี้

   3.1 หลังคาเมทัลชีท
   เป็นหลังคาของอาคารที่เป็นโรงงาน โรงจอดรถ หลังคาต่อเติมบนชั้นดาดฟ้า     โฮมออฟฟิศบางโครงการ



รูปที่ 1 - หลังคาเมทัลชีทที่ติดตั้งแผงโซล่าเซลล์

 
   3.2 หลังคากระเบื้องลอนคู่

   เป็นหลังคาของโรงเรียน หลังคาต่อเติมของอาคารสมัยเก่า ฟาร์มไก่ โรงเรือนเกษตร

 
รูปที่ 2 - หลังคากระเบื้องลอนคู่ที่ติดตั้งแผงโซล่าเซลล์

 

   3.3 หลังคากระเบื้องซีแพคโมเนีย

   เป็นหลังคาของบ้านเดี่ยว ทาวน์โฮม โฮมออฟฟิศ

 

 รูปที่ 3 - หลังคากระเบื้องซีแพคโมเนียแบบลอนที่ติดตั้งแผงโซล่าเซลล์
 
 
 รูปที่ 4 - หลังคากระเบื้องซีแพคโมเนียแบบเรียบที่ติดตั้งแผงโซล่าเซลล์

 

   3.4 หลังคาชิงเกิลรูฟ (Shingle Roof)

    เป็นหลังคาของบ้านสมัยใหม่

 

 รูปที่ 5 - หลังคาชิงเกิ้ลรูฟที่ติดตั้งแผงโซล่าเซลล์


4. ความสูงของหลังคา

ระยะในการเดินสายไฟโซล่าเซลล์จากหลังคาลงมาตู้ควบคุมชั้นล่างนี้ ขึ้นกับความสูงของหลังคานับจากพื้น

 
5. รูปถ่ายของตู้ไฟเมน และมิเตอร์ไฟหน้าอาคาร

เพื่อตรวจสอบว่า

   - ระบบไฟที่บ้านหรือบริษัทของท่านเป็นระบบ 1 เฟส หรือ 3 เฟส

   - เบรกเกอร์เมน (Main Breaker) ในตู้ไฟเมนว่ามีขนาดกี่แอมป์ (A)

   - สายไฟเมนมีขนาดพื้นที่หน้าตัดกี่ตร.มม. (mm2) หรือเส้นผ่านศูนย์กลางกี่มม. (mm.)

   ตู้ไฟเมน คือตู้ไฟที่รับไฟจากมิเตอร์ไฟหน้าอาคาร สายไฟเมนจะโยงเข้าเบรกเกอร์เมนในตู้ไฟเมน

   ขนาดของเบรกเกอร์เมนและสายไฟเมนนั้นมีผลต่อการเลือกขนาดของ CT (CT เป็นเซนเซอร์ตรวจสอบขนาด  พิกัดกระแสไฟที่ใช้ในบ้านหรือบริษัทของท่าน) และชุดของระบบกันไฟย้อน (Zero Export System)
 

 
รูปที่ 6 – ตู้คอนซูเมอร์ยูนิต (Consumer Unit) สำหรับระบบไฟฟ้า 1 เฟส




 
 รูปที่ 7 – เบรกเกอร์เมน สำหรับระบบไฟฟ้า 1 เฟส

 
ตู้คอนซูเมอร์ยูนิต (Consumer Unit) ที่ใช้กับระบบไฟฟ้า 1 เฟส แสดงดังรูปที่ 6 ซึ่งมีเบรกเกอร์เมนอยู่ที่ฝั่งซ้ายสุด ขนาดพิกัดกระแสของตัวอย่างเมนเบรกเกอร์ตามรูปที่ 7 เท่ากับ 40A

 
 รูปที่ 8 – ตู้ไฟเมน (MDB) และตู้โหลดเซ็นเตอร์ (Load Center) สำหรับระบบไฟฟ้า 3 เฟส

 

 รูปที่ 9 – ส่วนประกอบภายในของตู้ไฟเมน (MDB)



 รูปที่ 10 – ส่วนประกอบภายในของตู้โหลดเซ็นเตอร์ (Load Center)

 
สำหรับบ้านหรืออาคารที่มีระบบไฟฟ้า 3 เฟส จะมีส่วนของตู้ไฟเมน 2 แบบ คือ

1. อาคารออฟฟิศ โรงงาน หรืออาคารที่ใช้ไฟเยอะ

ตู้ไฟเมน คือ ตู้ MDB (Main Distribution Unit) และตู้ไฟรอง (DB) คือตู้ไฟที่รับไฟมาจากตู้ไฟเมนอีกที ซึ่งตู้ DB นี้เป็นตู้ที่คล้ายกับ MDB แต่มีขนาดเล็กกว่า MDB หรือใช้เป็นตู้โหลดเซ็นเตอร์ (Load Center) ก็ได้ แสดงดังรูปที่ 8

ในรูปที่ 9 แสดงส่วนประกอบภายในของตู้ MDB ซึ่งเบรกเกอร์เมนอยู่ด้านบนสุด ขนาดพิกัดกระแสจะแสดงอยู่ที่เนมเพลทหรือปลายคันโยกของเบรกเกอร์เมน สายไฟเมนของมิเตอร์ไฟหน้าอาคาร ตามรูปที่ 11 จะต่อเข้ากับด้านบนของเบรกเกอร์เมน

2. บ้านพักอาศัย

ตู้ไฟเมน คือ ตู้โหลดเซ็นเตอร์ เพียงตู้เดียว ดังรูปที่ 10

 
 รูปที่ 11 – มิเตอร์ไฟ 3 เฟส และสายไฟเมน

การตรวจสอบทั้งหมดนี้ ถ้าท่านสามารถทำได้ทั้งหมดก็เป็นการให้ข้อมูลกับผู้รับเหมาได้ละเอียดพอที่จะประเมินราคาได้ถูกต้องแม่นยำมากขึ้น

อย่างไรก็ตามถ้าท่านไม่สะดวกในการตรวจสอบได้ทั้งหมด ท่านสามารถให้ผู้รับเหมามาสำรวจหน้างานก่อนทำใบเสนอราคาส่งให้ท่านครับ


เช็คราคาแพ็คเกจระบบโซล่าเซลล์พร้อมติดตั้งได้ที่นี่ครับ

 

หมายเหตุเรื่องลิขสิทธิ์บทความ

ลิขสิทธิ์บทความโดย บริษัท ริช พาวเวอร์ ซิสเต็มส์ จำกัด ห้ามคัดลอกบทความหรือเผยแพร่ส่วนใดส่วนหนึ่งเพื่อประโยชน์ในทางพาณิชย์ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากทางบริษัทในการใช้เพื่อเผยแพร่เป็นความรู้เท่านั้น และต้องให้เครดิตกับทางบริษัทโดยใส่ URL Link ไว้ในเว็บไซท์ของผู้เผยแพร่ด้วย ถ้าผู้ใดละเมิดลิขสิทธิ์ทางบริษัทสามารถดำเนินคดีกับท่านได้ แต่เราไม่อยากทำแบบนั้นหรอกครับ ที่ทำได้คือเสียความรู้สึกเท่านั้น เพราะแต่ละบทความที่เขียนนั้นต้องอาศัยเวลา ความรู้ และประสบการณ์เพื่อถ่ายทอดครับ

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้