ล้วง แคะ แกะ เกา ปัญหาน่าปวดหัวที่เกิดจากตัวกันไฟย้อน Huawei

Last updated: 1 ก.พ. 2567  |  4703 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ชุดการต่อสายของตัวกันไฟย้อนรุ่น 3 เฟส

ปัญหาที่เกิดจากตัวกันไฟย้อน Huawei

ปัญหาที่เกิดจากตัวกันไฟย้อน เป็นปัญหาใหญ่ที่ทั้งลูกค้าและบริษัทผู้ติดตั้งโซล่าเซลล์ไม่อยากให้เกิดมากๆ เพราะตัวกันย้อนเป็นด่านแรก ที่จะบอกว่าในขณะนั้นโซล่าเซลล์จะจ่ายไฟได้เท่าไหร่ ถ้าเกิดปัญหาส่วนนี้ขึ้นมา จะทำให้โซล่าเซลล์จ่ายไฟเพี้ยน หรือไม่สามารถจ่ายไฟได้เลย

การต่อสายของตัวกันไฟย้อน


ในรูปที่ 1 จะเห็นได้ว่าการต่อตัวกันไฟย้อนมีการต่อสายทั้งหมด 3 ชุด ดังนี้

1.       สาย Power – คือสายไฟเลี้ยงที่ต่อขนานกับไฟฟ้าของอาคาร

2.       สาย Sensor – คือสายของ CT Sensor

3.       สาย Communication - คือสาย RS485 ที่ต่อไปยัง Inverter

ท่านผู้อ่านสามารถศึกษารายละเอียดพื้นฐานของตัวกันไฟย้อนได้จากบทความ “ขอเวลา 5 นาที คุณจะเข้าใจและติดตั้งตัวกันไฟย้อน (Smart Power Sensor) ได้



 รูปที่ 1 – ชุดการต่อสายของตัวกันไฟย้อนรุ่น 3 เฟส

ปัญหาที่พบบ่อยของตัวกันไฟย้อน


จากประสบการณ์ติดตั้งโซล่าเซลล์ของทางบริษัทเรา ปัญหาที่เกิดจากตัวกันไฟย้อนจะไม่มี Alarm แสดงที่ Fusion Solar App หรือ Fusion Solar Web Config แต่มีจุดที่เราสังเกตได้ดังนี้


1.     ปัญหาที่เกิดจากสาย CT ขาด หรือตัวกันไฟย้อนแฮงก์


        ถ้าสาย CT ขาดจะไม่สามารถอ่านค่ากระแสไฟ (Current) ได้ จะได้ผลลัพธ์แสดงดังรูปที่ 2 และ 3 ดังนี้

        จากรูปที่ 2 คือ Fusion Solar App ฝั่งลูกค้า - จะเห็นรูปวงกลมของ PV, Consumption และ Grid เป็นสีปกติเหมือนเดิม (สถานะ On Line) แต่จะไม่มีลูกศรแสดงไฟวิ่ง เนื่องจากสาย CT ขาดไม่สามารถอ่านค่ากระแสไฟได้

        ในระบบ 3 เฟส ถ้าสาย CT ขาดทุกเฟส จะไม่มีลูกศรวิ่ง แต่ถ้าขาดบางเฟส เราอาจจะเห็นลูกศรวิ่งอยู่ (จากประสบการณ์ หน้างานลูกค้า สาย CT โดนหนูกัดขาดทุกเส้น เลยไม่มีลูกศรวิ่ง)

                                  
 รูปที่ 2 – Fusion Solar App ในกรณีสาย CT ขาด

จากรูปที่ 3 คือ Fusion Solar Web ConFig ฝั่งผู้ติดตั้ง – จะเห็นได้ว่าถ้าค่า Phase Current = 0 แสดงว่าสาย CT ขาด ถ้าสาย CT ขาดบางเฟส ก็จะเห็นเป็น 0 เฉพาะเฟสที่ขาด


 รูปที่ 3 – Fusion Solar Web Config ในกรณีสาย CT ขาด

กรณีที่ใน Fusion SOlar App ขึ้น Online แต่ไม่มีลูกศรไฟวิ่ง และใน Fusion Solar Web Config แสดงผลเพี้ยน เช่น ค่ากระแสไฟ (Grid Current) หรือค่าแรงดันไฟฟ้า (Grid Voltage) มีค่าสูงมากๆ เช่น Grid Current = 950A, Grid Voltage = 1500V แสดงว่า ตัวกันไฟย้อนแฮงก์ ให้รีเซ็ทตัวกันไฟย้อน ก็จะใช้งานได้ปกติ


2.     ปัญหาที่เกิดจากสาย RS485,การเซ็ทค่าตัวกันย้อน


สาย RS485 - เช็คว่าลืมต่อสาย RS485 หรือไม่ ต่อสลับสาย A และ B กันหรือไม่

การเซ็ทค่าตัวกันย้อน – ต้องเลือกรุ่นของตัวกันย้อนให้ถูกต้อง เป็นรุ่น 1 เฟส หรือ 3 เฟส และ address = 11

ถ้ามีปัญหาส่วนของสาย RS485 และการเซ็ทค่านี้ จะทำให้การ Add ตัวกันไฟย้อนที่ Fusion Solar App ไม่สามารถทำได้


3.     ตัวกันไฟย้อนเสีย

        ถ้าลองทำทุกอย่างแล้วยังแก้ปัญหาไม่ได้ให้ลองเปลี่ยนตัวกันไฟย้อน ถ้าแก้ปัญหาได้แสดงว่าตัวกันไฟย้อนเสีย

 
ถ้าสาเหตุเกิดจากข้อ 2 และ 3 จะแสดงผลลัพธ์ดังรูปที่ 4 และ 5 ดังนี้

จากรูปที่ 4 คือ Fusion Solar App ฝั่งลูกค้า - จะเห็นรูปวงกลมของ PV, Consumption และ Grid เป็นสีเทาทั้งหมด (สถานะ Off Line) และไม่มีลูกศรแสดงไฟวิ่งด้วย เนื่องจากมีปัญหาที่สาย RS485, การเซ็ทค่าตัวกันย้อนผิด หรือตัวกันไฟย้อนเสีย

                       

 รูปที่ 4 – Fusion Solar App ในกรณีสาย RS485,การเซ็ทค่าตัวกันย้อนผิด และตัวกันไฟย้อนเสีย


จากรูปที่ 5 คือ Fusion Solar Web ConFig ฝั่งผู้ติดตั้ง – จะเห็นได้ว่าถ้าค่าพารามิเตอร์ทั้งหมด = 0 แสดงว่ามีปัญหาที่สาย RS485, การเซ็ทค่าตัวกันย้อนผิด หรือตัวกันไฟย้อนเสีย

 

รูปที่ 5 – Fusion Solar Web Config ในกรณีสาย RS485,การเซ็ทค่าตัวกันย้อนผิด และตัวกันไฟย้อนเสีย


มีอีกสาเหตุ ที่ทำให้การแสดงผลของ App คล้ายๆแบบนี้ (รูปกราฟฟิกเป็นสีเทา และไม่มีลูกศรวิ่ง) แต่จะมี Alarm นี้แสดงที่ App ด้วย “Abnormal communication between management system and equipment

ซึ่ง Alarm นี้เกิดจากอินเวอร์เตอร์ไม่สามารถติดต่อกับ Management System ได้ กรณีนี้ให้รีเซ็ท Router ของลูกค้า ถ้ายังใช้ไม่ได้ให้ทำการเซ็ท App Fusion Solar ใหม่ทุกขั้นตอน ก็จะใช้งานได้เหมือนเดิม

 

Click เช็คราคาโซล่าเซลล์ออนกริดพร้อมติดตั้งและรายละเอียดอุปกรณ์ที่ใช้ 


หมายเหตุเรื่องลิขสิทธิ์บทความ

ลิขสิทธิ์บทความโดย บริษัท ริช พาวเวอร์ ซิสเต็มส์ จำกัด ห้ามคัดลอกบทความหรือเผยแพร่ส่วนใดส่วนหนึ่งเพื่อประโยชน์ในทางพาณิชย์ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากทางบริษัทในการใช้เพื่อเผยแพร่เป็นความรู้เท่านั้น และต้องให้เครดิตกับทางบริษัทโดยใส่ URL Link ไว้ในเว็บไซท์ของผู้เผยแพร่ด้วย ถ้าผู้ใดละเมิดลิขสิทธิ์ทางบริษัทสามารถดำเนินคดีกับท่านได้ แต่เราไม่อยากทำแบบนั้นหรอกครับ ที่ทำได้คือเสียความรู้สึกเท่านั้น เพราะแต่ละบทความที่เขียนนั้นต้องอาศัยเวลา ความรู้ และประสบการณ์เพื่อถ่ายทอดครับ

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้